วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ใบงาน 1
ตอนที่ 1  จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.    จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ
1.ระบบประมวลผลรายการ(TransactionProcessingSystems)                                                                                                                                                                                                   2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ(Office Automation Systems)
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information Systems)
5. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems)

2.    เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร  เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารเทศได้อย่างไรบ้าง  จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
  เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้คือ
   1.ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็วโดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่างๆ
   2.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
   3.ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
  4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
   5.ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บเรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
   6.สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนายเพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
   7.อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อนทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมีทางเลือกที่ดีกว่ามีประสิทธิภาพกว่าและสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
    8.ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

3.    องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีกี่ส่วน อะไรบ้าง
มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  
     -  ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
      - ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
       -ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
       -บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
       -ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ 
4.    จงอธิบายการประมวลผลแบบกลุ่ม และ แบบเชื่อมตรง
   การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึงการทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง
 การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้ง ๆ เช่น เมื่อต้องทราบข้อมูล ผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล(poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่ม จึงกระทำในลักษระเป็นครั้ง ๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน ในการประมวลผลทั้งสองแบบนี้ เป็นวิธีการที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยดำเนินการกับข้อมูลจำนวนมากเพื่อแยกแยะ คำนวณ หรือดำเนินการตาม ที่กำหนดไว้ในโปรแกรม การทำงานของคอมพิวเตอร์ ในการประมวลผลจึงต้องมีซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอยสั่งการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ต้องการ

5.    ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง
    ด้านเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การวางแผนการใช้ทรัพยากรในการผลิต การวิเคราะห์ความพร้อมของวัตถุดิบและแรงงานรวมถึงความต้องการของประชากรในแต่ละพื้นที่จากข้อมูลพื้นฐาน
ด้านคมนาคมขนส่ง  GIS สามารถใช้ในการเพิ่มประสิทธิผลทางด้านการคมนาคมขนส่ง เช่น การวางแผนเส้นทางการเดินรถประจำทาง การวางแผนการสร้างเส้นทางคมนาคมทางรถไฟทางด่วนทางเดินเรือและเส้นทางการบินฯลฯได้เป็นอย่างดี
ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน การจัดสาธารณูปโภคพื้นฐานไปยังพื้นที่ต่างๆ ตามความต้องการของประชาชนนั้น GIS ได้เข้ามามีบทบาทอันสำคัญในการวางแผนในการสร้างถนนการเดินสายไฟฟ้าท่อประปารวมถึงการวางแผนในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคพื้นฐานเหล่านี้
ด้านการสาธารณสุข การประยุกต์ใช้ GIS ในการบริหารจัดการภาครัฐกับงานทางด้านสาธารณสุข มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การระบุตำแหน่งของผู้ป่วยโรคต่างๆ การวิเคราะห์การแพร่ของโรคระบาด หรือแนวโน้มการระบาดของโรค ซึ่งการประยุกต์ใช้ GIS จะช่วยให้ผู้บริหารสามมารถวางแผนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขได้อย่งมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ด้านการบริการชุมชน จะเกี่ยวข้องในส่วนของการให้บริการของรัฐกับประชาชนโดยทั่วๆไป ซึ่งประชาชนในแต่ละพื้นที่ จะมีความต้องการบริการจากภาครัฐกับประชาชนโดยทั่วๆไป ซึงประชาชนในแต่ละพื้นที่ จะมีความต้องการบริการจากภาครัฐแตกต่างกันไป การใช้ GIS จะช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงความต้องการของประชาชนโดยการให้บริการสาธารณะได้อย่างเป็นพลวัตร
ด้านการบังคับใช้กฎหมายและการป้องกันอาชญากรรม มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น การกำหนดจุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมเพื่อตั้งป้อมตำรวจ การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม โดยการบันทึกจุดที่เกิดอาชญากรรมไว้ แล้วนำมาวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยง ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายสมารถวางแผนให้ความสำคัญกับบางพื้นที่ที่ต้องทำการดูแลเป็นพิเศษเพื่อลดปัญหาอาชญากรรมได้
ด้านการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นหนึ่งในกิจกรรมการประยุกต์ใช้ GIS ที่แพร่หลายที่สุด เพราะความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมินผล ปละนำเสนอข้อมูลต่างๆในเชิงพื้นที่ที่จำเป็นต่อการวางผังเมือง และการจัดการเมืองสมารถกระทำได้อย่างสะดวกทั้งการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่
ด้านการจัดเก็บภาษี การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยในการจัดเก็บภาษี โดยอาศัยข้อมูลแผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ เช่น 1:1,000 ซึ่งสมารถมองเห็นขอบเขตของอาคาร เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูลการชำระภาษีอากร ซึ่งภาครัฐสามารถทำการติดตามตรวจสอบผลการจัดเก็บภาษีได้โดยสะดวกเพราะข้อมูลของสถานประกอบการ บ้านเรือน ฯลฯ ที่ชำระค่าภาษีอากรต่างๆ แล้วจะสามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างได้โดยเฉดสีบนแผนที่ทำให้สามารถค้นหาหรือติดตามการชำระภาษีอากรได้สะดวกและทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อทดลองสร้างแบบจำลองทางด้านสิ่งแวดล้อม มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การสร้างแบบจำลองสามมิติแสดงการถล่มของภูเขา ซึ่งการสร้างแบบจำลองใน GIS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจกับลักษณะของพื้นที่ได้โดยง่าย และเป็นการเพิ่มการรับรู้แบบเสมือนจริงในรูปแบบของแบบจำลองสมมิติซึ่งช่วยลดความผิดพลาดในการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง
ด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดในการจัดการในสภาวะฉุกเฉิน คือ การรับรู้ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อทำการตัดสินใจให้เร็วที่สุดผิดพลาดน้อยที่สุด และมีประสิทธิผลมากที่สุด GIS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลในเชิงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำเป็นต่อมาตรการในการป้องกันแก้ไข นอกจากนี้ยังใช้ GIS วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอยู่ในรัศมีของการได้รับผลกระทบจากสารพิษ เป็นต้น รวมทั้งวิเคราะห์ทิศทางวางแผนอพยพผู้คน เส้นทางในการเคลื่อนย้าย การขนส่งและเพื่อกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการป้องกันการวางแผนการช่วยเหลือ ทำการวิเคราะห์หรือสร้างภาพจำลองของเหตุการณ์เพื่อหาสาเหตุได้ทันที่ ตามสภาพของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา

6.    ให้นักเรียนยกตัวอย่างระบบสารสนเทศระดับต่างๆ มาอย่างน้อยระดับละ 1ตัวอย่าง
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล
       เป็นระบบที่ช่วยให้แต่ละบุคคล สามารถทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จเป็นเครื่องช่วยในการทำงาน โดยที่พนักงานจะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมก็ได้พัฒนาให้มีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านมาขึ้น เช่น โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database) โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) โปรแกรมจัดทำและตกแต่งรูปภาพ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชีก็ควรที่จะเลือกใช้โปรแกรมตารางทำงานหรืโปรแกรมบัญชี
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม
  
  เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายแลน (Local Area Network:Lan) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้เป็นอย่างดี และการเก็บข้อมูลอยู่ที่ศูนย์กลางที่เรียกว่า (File Sever) เมื่อผู้ใดต้องการใช้ก็สามารถเรียกข้อมูลนั้นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อต้องมีการแก้ไขข้อมูล เมื่อผู้อื่นเรียกใช้ข้อมูลนั้นก็จะได้รับข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขแล้วทันที นอกจากนี้ การใช้ระบบสารสนเทศระดับกลุ่มนี้ยังมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนในการทำงานอีก เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การจัดฐานข้อมูล การประชุมทางไกล (Video conference) การใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกันเป็นต้น
ระบบสารสนเทศระดับองค์กร
       เปรียบเสมือนการเอาระบบสารสนเทศระดับกลุ่มมารวมเข้าด้วยกันเพราะระดับสานสนเทศระดับองค์กรนี้เป็นภาพรวมของหลายๆ แผนก เพื่อสนับสนุนงานด้านการบริหารและการจัดการให้สะดวกยิ่งขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเชื่อมเครือข่ายในระดับกลุ่มเข้าด้วยกัน แต่ระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้จะต้องมีการจัดการฐานข้อมูลเพื่อช่วยดูแลข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น