วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่6 เครือข่ายคอมพิวเตอร์


แบบฝึกหัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. จงอธิบายความหมายของเครือข่ายมาพอเข้าใจ
     ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้

2. จงอธิบายความหมายคำว่าอินเตอร์เน็ต    

     อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

3. จงเขียนอธิบายรูปแบบการเชื่อมต่อดังนี้    
     3.1 แบบดาว เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเองในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนองที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่อคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไปยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที
     ข้อดี   
     1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
     2. เนื่องจากการรับ – ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ             
     3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน     
     4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร      
     5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่า
     ข้อเสีย    
     1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก     
     2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที     
     3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา     
     4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง
     3.2 แบบวงแหวน   เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างจุดโดยต่อเป็นวงแหวน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางก็จะรวมอยู่ด้วย การทำงานแต่ละเครื่องจะทำงานของตนเองและการเชื่อมโยงจะทำให้มีการแบ่งงานกันทำและการใช้แอดเดรสของปลายทางเอาไว้เพื่อให้ทราบว่าต้องการส่งไปยังเครื่องใด ซึ่งข้อมูลที่ส่งจะผ่านๆทุกจุดในวงแหวน ซึ่งหากมีปัญหาขัดข้องที่สถานนี้ใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ เครือข่ายแบบนี้มักใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์
      ข้อดี      
     1. สามารถควบคุมการส่งข้อมูลได้ง่าย เพราะระบบวงแหวนเป็นวงปิดเหมาะกับการใช้สื่อเป็นเส้นใยแก้วนำแสง    
     2. สามารถส่งไปยังผู้รับได้หลายๆสถานีพร้อมกัน      
     3. ครอบคลุมพื้นที่กว้าง    
     4. ไม่เปลืองสายสื่อสาร 
    ข้อเสีย
     1. หากเกิดขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้  
     2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดจะต้องตรวจสอบไปทีละสถานี  
     3. เวลาจะส่งข้อมูลจะต้องให้สายข้อมูลนั้นว่างเสียก่อนจึงจะส่งออกไปได้  
     4. ติดตั้งยากกว่าแบบบัสและใช้สายสื่อสารมากกว่า     
3.3 แบบบัส  มีลักษณะคล้ายแบบวงแหวน แต่ไม่ต่อเป็นวงกลม มีสายสื่อสาร1สายโดยแต่ละสถานีจะถูกต่อเข้ากับสายโดยไม่มีตัวใดเป็นตัวควบคุม การส่งข้อมูลระหว่าง สถานีจะทำผ่านทางสายหรือบัสนี้ การต่อแบบนี้ไม่มีตัวศูนย์กลางควบคุมดังนั้นถ้าหลายๆสถานีต้องการส่งข้อมูล ในเวลาเดียวกันก็จะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลได้ วิธีแก้ก็คือจะต้องรอจนกว่าสายจะว่างแล้วจึงส่งใหม่ซ้ำอีกครั้งหนึ่งต้องการส่งข้อมูล ในเวลาเดียวกันก็จะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลได้ วิธีแก้ก็คือจะต้องรอจนกว่าสายจะว่างแล้วจึงส่งใหม่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
    ข้อดี    
    1. โครงสร้างง่ายต่อการติดตั้ง เพราะมีสายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว    
    2. ประหยัดเพราะสายส่งไม่ยาวมากนัก  
    3. การเพิ่มสถานีทำได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ   
    4. หากสถานีใดหรือจุดใดติดขัดก็จะทำให้ใช้งานไม่ได้เฉพาะที่จุดนั้นๆแต่ระบบก็ยังสามารถใช้งานได้ปกติ    
    ข้อเสีย   
    1. หากระบบมีข้อผิดพลาดก็จะหาได้ยาก 
    2. หากสายส่งข้อมูลเสียหายก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
    3.4 แบบทรีหรือแบบต้นไม้    โทโพโลยีแบบต้นไม้ ( tree topology ) เป็นแบบที่ดัดแปลงมาจากแบบดาว แต่ใช้ฮับหลายตัว มีฮับตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นฮับศูนย์กลาง มีฮับอื่นต่อเชื่อมมายังฮับศูนย์กลางเรียกว่า ฮับทุติยภูมิ ( secondary hub ) ฮับแต่ละตัวมีอุปกรณ์ต่อเชื่อมเข้ามา โดยทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลภายในกลุ่มของอุปกรณ์ที่ฮับนั้น ๆ รับผิดชอบ ฮับศูนย์กลางเป็นแบบแอ็กทีฟฮับ ( Active hub) คือเป็นฮับที่ทำหน้าที่เป็นรีพีตเตอร์ ( repeater ) รีพีตเตอร์เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่สร้างสัญญาณใหม่ หลังจากที่ได้รับข้อมูลในรูปของบิตเข้ามาก่อนที่จะส่งออกไปในสายใหม่ รีพีตเตอร์ทำให้สัญญาณมีระดับของสัญญาณแรงขึ้น และทำให้ส่งข้อมูลไปได้ในระยะไกลขึ้น ส่วนฮับทุติยภูมิเป็นแบบแอ็กทีฟฮับหรือพาสซีฟฮับ ( passive hub ) พาสซีฟฮับเป็นฮับธรรมดาที่ใช้ส่งต่อข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่นเท่านั้น พาสซีฟฮับมีวงจรภายในที่ประกอบไปด้วยตัวต้านทาน( resister) คอยควบคุมวงจรการรับส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่น
        ข้อดีและข้อเสีย ของโทโพโลยีแบบต้นไม้คล้ายกับแบบดาว แต่การที่มีฮับทุติยภูมิ ทำให้มีข้อดีเพิ่มขึ้น อย่างคือ ประการแรกสามารถเพิ่มระยะทางระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ไกลขึ้น ประการที่สองคือทำให้สามารถกำหนดระดับความสำคัญ (priority) ของเครื่องอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับศูนย์กลาง มีระดับความสำคัญสูงกว่าเครื่องที่เชื่อมต่อกับฮับทุติยภูมิทุกตัว นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งกลุ่มหรือวงของเครือข่ายย่อยได้อีกด้วย

4. จงสรุปว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายมีอะไรบ้างพร้อมให้นิยามความหมายมาพอเข้าใจ   

    1.โมเด็ม (Modem) โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล  
    2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า       
    3. เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน        
    4. เราเตอร์ (Router) เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล        
    5. บริดจ์ (Bridge) บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง      
    6. รีพีตเตอร์ (Repeater)  รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่         
    7.  สายสัญญาณ เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คื
          -สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์                
          -สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล

5. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้มาพอเข้าใจ 

     5.1 LAN เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน  
     5.2 WAN เครือข่าย WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็นหลาย ๆ กิโลเมตร   
     5.3 Frame Relay  เป็นการออกแบบสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับประสิทธิภาพต้นทุนการส่งผ่านสำหรับการจราจรเป็นช่วงระหว่างเครือข่ายพื้นที่ท้องถิ่น (local area network)
     5.4 Ethernet เป็นเทคโนโลยีของ LAN ที่ได้รับการติดตั้งอย่างกว้างขวาง    

     5.5 Internet  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก  
     5.6 Protocol การสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ    
     5.7 Fiber optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก   
     5.8 ATM มาตรฐานรูปแบบ การส่งข้อมูลความเร็วสูง ที่ถูกพัฒนามาสำหรับงานที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมาก  
     5.9 VPN VPN หรือ Virtual Private Network หมายถึง เครือข่ายเสมือนส่วนตัว ที่ทำงานโดยใช้ โครงสร้างของ เครือข่ายสาธารณะ

6. จงเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกียวข้องกับระบบเครือข่ายมา 10คำพร้อมอธิบายความหมายและคำอ่านภาษาอังกฤษ   

    1.ADDRESSที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์  
    2.ADSLAsymmetric DSL หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้    
    3.Backbone เปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน  
   4.Bridge บริดจ์ เป็นอุปกรณ์สำหรับ ส่งผ่านกลุ่มข้อมูล (packets) ผ่านส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสื่อสาร โดยอาศัย โปรโตคอลสื่อสาร อันเดียวกัน ในกรณีที่ กลุ่มข้อมูลนั้น ต้องถูกส่งไปยัง ผู้ใช้ปลายทาง ที่อยู่ในเครือข่าย ส่วนเดียวกันกับผู้ส่ง บริดจ์จะไม่ส่งผ่านข้อมูล ออกไป นอกส่วนเครือข่ายนั้น แต่ในกรณีที่ ต้องส่งข้อมูล ไปยังส่วนอื่น บริดจ์ก็จะส่งผ่านข้อมูล ออกไป ผ่านทาง Backbone ของเครือข่าย 
   5.Bandwidth แบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล  
   6.BROSWERโปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่Internter Explorer, Netscape, Opera
   7.Clientไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์   

   8.COMPOSE การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Emai  
   9.DIAL UP การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์    

  10.Client ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 




วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงาน บทที่ 3 เรื่อง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


ใบงาน บทที่ 3 เรื่อง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
1.คอมพิวเตอร์คืออะไร
คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
2. ให้นักเรียนวาดรูปแสดงวงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์มาให้ สมบูรณ์ที่สุด


3. คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
1. ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
2. ความเชื่อถือได้ (Reliable) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
3. ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรในคอมพิวเตอร์จะให้ผลการคำนวณที่ถูกต้องเสมอ
4. เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ (Store massive amount of information) ไมโครคอมพิวเตอร์จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และ ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านๆ ตัวอักษร
5. ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (Move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงนาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ
4. คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
มี 6 ประเภท คือ
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
3.เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer)
4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)
5.คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer ) 
6.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)
5. งานด้านวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดเพราะอะไรจึงเลือกใช้คอมพิเตอร์ประเภทนั้น
ควรเลือกใช้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เพราะ เป็นคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงและ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายลานตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอากาศทัง้ ระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้น บรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ หรืองานด้านการควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอากาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ
6. ระบบจ้องห้องพักของโรงแรมควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดเพราะเหตุใดถึงเลือกใช้คอมพิวเตอรประเภทนั้น
มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)
เพราะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง
7. ระบบงานธนาคารควรเลือกใช้รคอมพิวเตอร์ประเภทใด เพราะเหตุใดถึงเลือกใช้คอมพิวเตอรประเภทนั้น
ควรเลือกใช้ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)เพราะ มีขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการทำงานและมีหน่วยความจำสูงมาก เหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น
8. คอมพิวเตอร์พกพาหรือโน๊ตบุ๊คจัดจัดอยู่ในเครื่องคอมประเภทใด
ไมโครคอมพิวเตอร์(microcomputer)
9. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยกี่ด้าน ได้แก่อะไรบ้าง
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
4. บุคคลากร (Peopleware)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure
10. ให้นักเรียนแต่ละคนวาดรูปแสดงขั้นตอนของสารสนเทศ

11. ให้นักเรียนแต่ละคนบอกถึงประโยชน์และวิธีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียน
1)ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์
2)เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3)การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนเพื่อหาความรู้ในการเรียนการค้นคว้าหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
12. ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์หรือไม่และนักเรียนคิดว่ามีความจำเป็นที่ต้องเรียนคอมพิวเตอร์หรือไม่
มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน
เพราะ
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานด้านต่างๆ
2. เพื่อให้ผู้เรียนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบการทำงานด้านต่าง ๆ ได้
3. ผู้เรียนเข้าใจได้ว่าแต่ละงานหรืออาชีพต่าง ๆ มีความจำเป็นอย่างไรในการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ใบงาน 1
ตอนที่ 1  จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.    จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ
1.ระบบประมวลผลรายการ(TransactionProcessingSystems)                                                                                                                                                                                                   2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ(Office Automation Systems)
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information Systems)
5. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems)

2.    เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร  เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารเทศได้อย่างไรบ้าง  จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
  เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้คือ
   1.ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็วโดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่างๆ
   2.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
   3.ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
  4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
   5.ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บเรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
   6.สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนายเพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
   7.อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อนทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมีทางเลือกที่ดีกว่ามีประสิทธิภาพกว่าและสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
    8.ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

3.    องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีกี่ส่วน อะไรบ้าง
มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  
     -  ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
      - ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
       -ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
       -บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
       -ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ 
4.    จงอธิบายการประมวลผลแบบกลุ่ม และ แบบเชื่อมตรง
   การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึงการทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง
 การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้ง ๆ เช่น เมื่อต้องทราบข้อมูล ผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล(poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่ม จึงกระทำในลักษระเป็นครั้ง ๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน ในการประมวลผลทั้งสองแบบนี้ เป็นวิธีการที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยดำเนินการกับข้อมูลจำนวนมากเพื่อแยกแยะ คำนวณ หรือดำเนินการตาม ที่กำหนดไว้ในโปรแกรม การทำงานของคอมพิวเตอร์ ในการประมวลผลจึงต้องมีซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอยสั่งการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ต้องการ

5.    ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง
    ด้านเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การวางแผนการใช้ทรัพยากรในการผลิต การวิเคราะห์ความพร้อมของวัตถุดิบและแรงงานรวมถึงความต้องการของประชากรในแต่ละพื้นที่จากข้อมูลพื้นฐาน
ด้านคมนาคมขนส่ง  GIS สามารถใช้ในการเพิ่มประสิทธิผลทางด้านการคมนาคมขนส่ง เช่น การวางแผนเส้นทางการเดินรถประจำทาง การวางแผนการสร้างเส้นทางคมนาคมทางรถไฟทางด่วนทางเดินเรือและเส้นทางการบินฯลฯได้เป็นอย่างดี
ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน การจัดสาธารณูปโภคพื้นฐานไปยังพื้นที่ต่างๆ ตามความต้องการของประชาชนนั้น GIS ได้เข้ามามีบทบาทอันสำคัญในการวางแผนในการสร้างถนนการเดินสายไฟฟ้าท่อประปารวมถึงการวางแผนในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคพื้นฐานเหล่านี้
ด้านการสาธารณสุข การประยุกต์ใช้ GIS ในการบริหารจัดการภาครัฐกับงานทางด้านสาธารณสุข มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การระบุตำแหน่งของผู้ป่วยโรคต่างๆ การวิเคราะห์การแพร่ของโรคระบาด หรือแนวโน้มการระบาดของโรค ซึ่งการประยุกต์ใช้ GIS จะช่วยให้ผู้บริหารสามมารถวางแผนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขได้อย่งมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ด้านการบริการชุมชน จะเกี่ยวข้องในส่วนของการให้บริการของรัฐกับประชาชนโดยทั่วๆไป ซึ่งประชาชนในแต่ละพื้นที่ จะมีความต้องการบริการจากภาครัฐกับประชาชนโดยทั่วๆไป ซึงประชาชนในแต่ละพื้นที่ จะมีความต้องการบริการจากภาครัฐแตกต่างกันไป การใช้ GIS จะช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงความต้องการของประชาชนโดยการให้บริการสาธารณะได้อย่างเป็นพลวัตร
ด้านการบังคับใช้กฎหมายและการป้องกันอาชญากรรม มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น การกำหนดจุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมเพื่อตั้งป้อมตำรวจ การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม โดยการบันทึกจุดที่เกิดอาชญากรรมไว้ แล้วนำมาวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยง ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายสมารถวางแผนให้ความสำคัญกับบางพื้นที่ที่ต้องทำการดูแลเป็นพิเศษเพื่อลดปัญหาอาชญากรรมได้
ด้านการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นหนึ่งในกิจกรรมการประยุกต์ใช้ GIS ที่แพร่หลายที่สุด เพราะความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมินผล ปละนำเสนอข้อมูลต่างๆในเชิงพื้นที่ที่จำเป็นต่อการวางผังเมือง และการจัดการเมืองสมารถกระทำได้อย่างสะดวกทั้งการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่
ด้านการจัดเก็บภาษี การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยในการจัดเก็บภาษี โดยอาศัยข้อมูลแผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ เช่น 1:1,000 ซึ่งสมารถมองเห็นขอบเขตของอาคาร เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูลการชำระภาษีอากร ซึ่งภาครัฐสามารถทำการติดตามตรวจสอบผลการจัดเก็บภาษีได้โดยสะดวกเพราะข้อมูลของสถานประกอบการ บ้านเรือน ฯลฯ ที่ชำระค่าภาษีอากรต่างๆ แล้วจะสามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างได้โดยเฉดสีบนแผนที่ทำให้สามารถค้นหาหรือติดตามการชำระภาษีอากรได้สะดวกและทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อทดลองสร้างแบบจำลองทางด้านสิ่งแวดล้อม มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การสร้างแบบจำลองสามมิติแสดงการถล่มของภูเขา ซึ่งการสร้างแบบจำลองใน GIS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจกับลักษณะของพื้นที่ได้โดยง่าย และเป็นการเพิ่มการรับรู้แบบเสมือนจริงในรูปแบบของแบบจำลองสมมิติซึ่งช่วยลดความผิดพลาดในการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง
ด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดในการจัดการในสภาวะฉุกเฉิน คือ การรับรู้ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อทำการตัดสินใจให้เร็วที่สุดผิดพลาดน้อยที่สุด และมีประสิทธิผลมากที่สุด GIS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลในเชิงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำเป็นต่อมาตรการในการป้องกันแก้ไข นอกจากนี้ยังใช้ GIS วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอยู่ในรัศมีของการได้รับผลกระทบจากสารพิษ เป็นต้น รวมทั้งวิเคราะห์ทิศทางวางแผนอพยพผู้คน เส้นทางในการเคลื่อนย้าย การขนส่งและเพื่อกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการป้องกันการวางแผนการช่วยเหลือ ทำการวิเคราะห์หรือสร้างภาพจำลองของเหตุการณ์เพื่อหาสาเหตุได้ทันที่ ตามสภาพของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา

6.    ให้นักเรียนยกตัวอย่างระบบสารสนเทศระดับต่างๆ มาอย่างน้อยระดับละ 1ตัวอย่าง
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล
       เป็นระบบที่ช่วยให้แต่ละบุคคล สามารถทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จเป็นเครื่องช่วยในการทำงาน โดยที่พนักงานจะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมก็ได้พัฒนาให้มีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านมาขึ้น เช่น โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database) โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) โปรแกรมจัดทำและตกแต่งรูปภาพ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชีก็ควรที่จะเลือกใช้โปรแกรมตารางทำงานหรืโปรแกรมบัญชี
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม
  
  เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายแลน (Local Area Network:Lan) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้เป็นอย่างดี และการเก็บข้อมูลอยู่ที่ศูนย์กลางที่เรียกว่า (File Sever) เมื่อผู้ใดต้องการใช้ก็สามารถเรียกข้อมูลนั้นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อต้องมีการแก้ไขข้อมูล เมื่อผู้อื่นเรียกใช้ข้อมูลนั้นก็จะได้รับข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขแล้วทันที นอกจากนี้ การใช้ระบบสารสนเทศระดับกลุ่มนี้ยังมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนในการทำงานอีก เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การจัดฐานข้อมูล การประชุมทางไกล (Video conference) การใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกันเป็นต้น
ระบบสารสนเทศระดับองค์กร
       เปรียบเสมือนการเอาระบบสารสนเทศระดับกลุ่มมารวมเข้าด้วยกันเพราะระดับสานสนเทศระดับองค์กรนี้เป็นภาพรวมของหลายๆ แผนก เพื่อสนับสนุนงานด้านการบริหารและการจัดการให้สะดวกยิ่งขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเชื่อมเครือข่ายในระดับกลุ่มเข้าด้วยกัน แต่ระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้จะต้องมีการจัดการฐานข้อมูลเพื่อช่วยดูแลข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร










วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชื่อ-สกุล นายณพัฒน์  คงแก้ว

อายุ 16 ปี

ที่อยู่ อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช

ประวัติการศึกษา

 -ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนชะอวด
 - กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชะอวด