วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่6 เครือข่ายคอมพิวเตอร์


แบบฝึกหัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. จงอธิบายความหมายของเครือข่ายมาพอเข้าใจ
     ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้

2. จงอธิบายความหมายคำว่าอินเตอร์เน็ต    

     อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

3. จงเขียนอธิบายรูปแบบการเชื่อมต่อดังนี้    
     3.1 แบบดาว เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเองในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนองที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่อคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไปยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที
     ข้อดี   
     1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
     2. เนื่องจากการรับ – ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ             
     3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน     
     4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร      
     5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่า
     ข้อเสีย    
     1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก     
     2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที     
     3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา     
     4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง
     3.2 แบบวงแหวน   เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างจุดโดยต่อเป็นวงแหวน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางก็จะรวมอยู่ด้วย การทำงานแต่ละเครื่องจะทำงานของตนเองและการเชื่อมโยงจะทำให้มีการแบ่งงานกันทำและการใช้แอดเดรสของปลายทางเอาไว้เพื่อให้ทราบว่าต้องการส่งไปยังเครื่องใด ซึ่งข้อมูลที่ส่งจะผ่านๆทุกจุดในวงแหวน ซึ่งหากมีปัญหาขัดข้องที่สถานนี้ใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ เครือข่ายแบบนี้มักใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์
      ข้อดี      
     1. สามารถควบคุมการส่งข้อมูลได้ง่าย เพราะระบบวงแหวนเป็นวงปิดเหมาะกับการใช้สื่อเป็นเส้นใยแก้วนำแสง    
     2. สามารถส่งไปยังผู้รับได้หลายๆสถานีพร้อมกัน      
     3. ครอบคลุมพื้นที่กว้าง    
     4. ไม่เปลืองสายสื่อสาร 
    ข้อเสีย
     1. หากเกิดขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้  
     2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดจะต้องตรวจสอบไปทีละสถานี  
     3. เวลาจะส่งข้อมูลจะต้องให้สายข้อมูลนั้นว่างเสียก่อนจึงจะส่งออกไปได้  
     4. ติดตั้งยากกว่าแบบบัสและใช้สายสื่อสารมากกว่า     
3.3 แบบบัส  มีลักษณะคล้ายแบบวงแหวน แต่ไม่ต่อเป็นวงกลม มีสายสื่อสาร1สายโดยแต่ละสถานีจะถูกต่อเข้ากับสายโดยไม่มีตัวใดเป็นตัวควบคุม การส่งข้อมูลระหว่าง สถานีจะทำผ่านทางสายหรือบัสนี้ การต่อแบบนี้ไม่มีตัวศูนย์กลางควบคุมดังนั้นถ้าหลายๆสถานีต้องการส่งข้อมูล ในเวลาเดียวกันก็จะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลได้ วิธีแก้ก็คือจะต้องรอจนกว่าสายจะว่างแล้วจึงส่งใหม่ซ้ำอีกครั้งหนึ่งต้องการส่งข้อมูล ในเวลาเดียวกันก็จะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลได้ วิธีแก้ก็คือจะต้องรอจนกว่าสายจะว่างแล้วจึงส่งใหม่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
    ข้อดี    
    1. โครงสร้างง่ายต่อการติดตั้ง เพราะมีสายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว    
    2. ประหยัดเพราะสายส่งไม่ยาวมากนัก  
    3. การเพิ่มสถานีทำได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ   
    4. หากสถานีใดหรือจุดใดติดขัดก็จะทำให้ใช้งานไม่ได้เฉพาะที่จุดนั้นๆแต่ระบบก็ยังสามารถใช้งานได้ปกติ    
    ข้อเสีย   
    1. หากระบบมีข้อผิดพลาดก็จะหาได้ยาก 
    2. หากสายส่งข้อมูลเสียหายก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
    3.4 แบบทรีหรือแบบต้นไม้    โทโพโลยีแบบต้นไม้ ( tree topology ) เป็นแบบที่ดัดแปลงมาจากแบบดาว แต่ใช้ฮับหลายตัว มีฮับตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นฮับศูนย์กลาง มีฮับอื่นต่อเชื่อมมายังฮับศูนย์กลางเรียกว่า ฮับทุติยภูมิ ( secondary hub ) ฮับแต่ละตัวมีอุปกรณ์ต่อเชื่อมเข้ามา โดยทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลภายในกลุ่มของอุปกรณ์ที่ฮับนั้น ๆ รับผิดชอบ ฮับศูนย์กลางเป็นแบบแอ็กทีฟฮับ ( Active hub) คือเป็นฮับที่ทำหน้าที่เป็นรีพีตเตอร์ ( repeater ) รีพีตเตอร์เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่สร้างสัญญาณใหม่ หลังจากที่ได้รับข้อมูลในรูปของบิตเข้ามาก่อนที่จะส่งออกไปในสายใหม่ รีพีตเตอร์ทำให้สัญญาณมีระดับของสัญญาณแรงขึ้น และทำให้ส่งข้อมูลไปได้ในระยะไกลขึ้น ส่วนฮับทุติยภูมิเป็นแบบแอ็กทีฟฮับหรือพาสซีฟฮับ ( passive hub ) พาสซีฟฮับเป็นฮับธรรมดาที่ใช้ส่งต่อข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่นเท่านั้น พาสซีฟฮับมีวงจรภายในที่ประกอบไปด้วยตัวต้านทาน( resister) คอยควบคุมวงจรการรับส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่น
        ข้อดีและข้อเสีย ของโทโพโลยีแบบต้นไม้คล้ายกับแบบดาว แต่การที่มีฮับทุติยภูมิ ทำให้มีข้อดีเพิ่มขึ้น อย่างคือ ประการแรกสามารถเพิ่มระยะทางระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ไกลขึ้น ประการที่สองคือทำให้สามารถกำหนดระดับความสำคัญ (priority) ของเครื่องอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับศูนย์กลาง มีระดับความสำคัญสูงกว่าเครื่องที่เชื่อมต่อกับฮับทุติยภูมิทุกตัว นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งกลุ่มหรือวงของเครือข่ายย่อยได้อีกด้วย

4. จงสรุปว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายมีอะไรบ้างพร้อมให้นิยามความหมายมาพอเข้าใจ   

    1.โมเด็ม (Modem) โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล  
    2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า       
    3. เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน        
    4. เราเตอร์ (Router) เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล        
    5. บริดจ์ (Bridge) บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง      
    6. รีพีตเตอร์ (Repeater)  รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่         
    7.  สายสัญญาณ เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คื
          -สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์                
          -สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล

5. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้มาพอเข้าใจ 

     5.1 LAN เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน  
     5.2 WAN เครือข่าย WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็นหลาย ๆ กิโลเมตร   
     5.3 Frame Relay  เป็นการออกแบบสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับประสิทธิภาพต้นทุนการส่งผ่านสำหรับการจราจรเป็นช่วงระหว่างเครือข่ายพื้นที่ท้องถิ่น (local area network)
     5.4 Ethernet เป็นเทคโนโลยีของ LAN ที่ได้รับการติดตั้งอย่างกว้างขวาง    

     5.5 Internet  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก  
     5.6 Protocol การสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ    
     5.7 Fiber optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก   
     5.8 ATM มาตรฐานรูปแบบ การส่งข้อมูลความเร็วสูง ที่ถูกพัฒนามาสำหรับงานที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมาก  
     5.9 VPN VPN หรือ Virtual Private Network หมายถึง เครือข่ายเสมือนส่วนตัว ที่ทำงานโดยใช้ โครงสร้างของ เครือข่ายสาธารณะ

6. จงเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกียวข้องกับระบบเครือข่ายมา 10คำพร้อมอธิบายความหมายและคำอ่านภาษาอังกฤษ   

    1.ADDRESSที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์  
    2.ADSLAsymmetric DSL หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้    
    3.Backbone เปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน  
   4.Bridge บริดจ์ เป็นอุปกรณ์สำหรับ ส่งผ่านกลุ่มข้อมูล (packets) ผ่านส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสื่อสาร โดยอาศัย โปรโตคอลสื่อสาร อันเดียวกัน ในกรณีที่ กลุ่มข้อมูลนั้น ต้องถูกส่งไปยัง ผู้ใช้ปลายทาง ที่อยู่ในเครือข่าย ส่วนเดียวกันกับผู้ส่ง บริดจ์จะไม่ส่งผ่านข้อมูล ออกไป นอกส่วนเครือข่ายนั้น แต่ในกรณีที่ ต้องส่งข้อมูล ไปยังส่วนอื่น บริดจ์ก็จะส่งผ่านข้อมูล ออกไป ผ่านทาง Backbone ของเครือข่าย 
   5.Bandwidth แบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล  
   6.BROSWERโปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่Internter Explorer, Netscape, Opera
   7.Clientไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์   

   8.COMPOSE การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Emai  
   9.DIAL UP การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์    

  10.Client ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์